23 กันยายน 2553

อาชีพวิศวกร

เมื่อเอ่ยถึงอาชีพวิศวกรหลายคนคงนึกภาพไปถึงวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างตึกระฟ้าสูง วิศวกรควบคุมการก่อสร้างสะพานและถนน หรืออาจจะนึกไปถึงนายช่างใหญ่ดูแลและควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน แต่ในปัจจุบันงานทางวิศวกรรมเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับแทบจะทุกภาคฝ่ายในสังคม

วิศวกรเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความคิดและแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา จากหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรได้พัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ก่อประโยชน์ให้กับมนุษยชาติอย่างมหาศาล วิศวกรโยธาใช้กฎพื้นฐานทางกลศาสตร์ในการออกแบบโครงสร้างของอาคารที่รองรับลมพายุและแผ่นดินไหว วิศวกรเคมีใช้ความรู้ด้านการเกิดปฏิกิริยาเพื่อออกแบบขั้นตอนและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตวัตถุดิบมากมายให้กับอุตสาหกรรม วิศวกรวัสดุออกแบบวัสดุแบบใหม่ที่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารออกแบบระบบเสารับส่งสัญญาณทำให้สามารถส่งรับสัญญาณได้ไกลขึ้นแต่ยังคงความชัดเจนอยู่

นอกจากนี้งานในปัจจุบันบางชนิดยังต้องการความรู้จากหลายสาขา เช่นการพัฒนาหุ่นยนต์ ที่ต้องใช้ความรู้ด้านการควบคุมจากวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องยนต์กลไกจากวิศวกรรมเครื่องกล และการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความชาญฉลาดจากวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

อาชีพวิศวกรเหมาะกับคุณหรือไม่?

งานด้านวิศวกรรมเหมาะกับผู้ที่มีลักษณะและความสนใจดังนี้

  1. ชอบคิดและวิเคราะห์ สามารถกล่าวได้โดยไม่ผิดพลาดนักว่าปัญหาหลักทางด้านวิศวกรรมคือการออกแบบอะไรบางอย่างภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ปัญหาเหล่านี้มักไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าถูกหรือผิด หรือในบางครั้งแม้แต่จะระบุว่าอะไรคือคำตอบที่ดีที่สุดก็อาจจะทำไม่ได้ หน้าที่ของวิศวกรคือการตัดสินใจเลือกคำตอบที่เหมาะสมโดยต้องคำนึงถึงข้อดีข้อเสียและหาจุดที่ลงตัวที่สุด การตัดสินใจทั้งหมดนี้ต้องทำภายใต้หลักการหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นคุณสมบัติที่สำคัญข้อหนึ่งของวิศวกรคือต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการคิดและวิเคราะห์ปัญหา
  2. ชอบความท้าทาย แทบไม่มีงานเชิงวิศวกรรมใดที่สามารถกางตำราแล้วหาคำตอบที่ต้องการได้เสมอ ดังนั้นในการปฏิบัติงานสิ่งที่วิศวกรจะได้พบก็คือปัญหาที่ต้องการการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาเข้ากับสถานการณ์ที่กำลังพบอยู่และมักจะมีเงื่อนไขประกอบให้พิจารณามากมาย เช่น กำหนดการที่วางไว้ หรืองบประมาณที่เหลืออยู่ ลักษณะงานแบบนี้เมื่อพิจารณาดูอาจจะไม่ใช่งานแบบสบาย ๆ สักเท่าใด อย่างไรก็ตาม นอกจากความภาคภูมิใจที่วิศวกรได้รับหลังจากที่แก้ปัญหาลุล่วงไปแล้ว คุณประโยชน์จากผลงานที่วิศวกรทำไว้นั้นมักคุ้มค่ากับกำลังกายกำลังสมองที่ใช้ไปเสมอ
  3. มีความรับผิดชอบ วิศวกรเป็นอาชีพที่มีเกียรติเพราะนอกจากจะสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวมแล้ว ยังต้องมีความรอบคอบเพราะว่าความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงได้ บุคคลที่จะได้รับชื่อว่าเป็นวิศวกรได้นั้นจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง มีความหนักแน่นไม่เอนเอียงเข้าหาผลประโยชน์เล็กน้อยมากกว่าความสำเร็จที่แท้จริงของงาน
ถ้าคิดว่าลักษณะข้างต้นตรงกับตัวคุณเอง อาชีพวิศวกรอาจจะเหมาะกับคุณก็ได้ ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์นี้เกี่ยวกับสาขาต่าง ๆ ของงานด้านวิศวกรรม (เว็บไซต์จะมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกเร็ว ๆ นี้ โปรดติดตาม) อาจจะสอบถามข้อมูลเพิ่มได้จากเว็บบอร์ด หรือจะเริ่มจากการรับชมวีดิทัศน์ด้านขวาก่อนก็ได้

20 มิถุนายน 2553

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ในส่วนพื้นที่หลักฝั่งเดียวกับสนามพระรูป แบ่งออกเป็น 13 ภาควิชา นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มักเรียกแทนตัวเองว่า "อินทาเนีย"
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานไชยศรีตรงข้ามกับศาลาสหทัยสมาคมในปี พ.ศ. 2442 [ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากลในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ดังนั้น พ.ศ. กับ ค.ศ. ก่อนหน้านี้จึงเหลื่อมกันอยู่ 1 ปี] และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลจากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ. 2425
ต่อมาเมื่อถึงต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียน "มหาดเล็ก" โดยเติมคำว่า "หลวง" ต่อท้ายอีกคำหนึ่ง ณ ตำบลดุสิต (คือโรงเรียนวชิราวุธในปัจจุบัน) แทนการสร้างวัดตามขัตติยราชประเพณี ส่วนโรงเรียนมหาดเล็กเดิมนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระชนกนาถเพื่อเป็นกตัญญูกตเวทีธรรมสืบไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วางแผนการจัดสร้างโรงเรียนข้าราชการพลเรือนโดยไม่ขึ้นแก่กระทรวงใด ๆ อันนับว่าเป็นรากเหง้าของมหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้น โดยมีพระราชประสงค์จะให้มีการเรียนทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ กฎหมาย ครุศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
แต่ในสมัยนั้นกระทรวงธรรมการเป็นผู้จัดการราชแพทยาลัยและโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์อยู่ ส่วนโรงเรียนกฎหมายนั้นก็อยู่ในการดูแลของกระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2454 กระทรวงเกษตราธิการได้โอนโรงเรียนเกษตรแผนกวิศวกรรมการคลอง 1 มาให้กับโรงเรียนข้าราชการพลเรือน 1 (ซึ่งตั้งอยู่ที่วังใหม่ ปทุมวัน เป็นตึกแบบปราสาทวินเซอร์ ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า "หอวัง" ก่อนที่จะถูกรื้อถอนสร้างเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ) ซึ่ง ในสมัยนั้นกระทรวงเกษตรยังไม่มีความประสงค์ที่จะรับผู้ที่สำเร็จในวิชาแผนกเกษตรศาสตร์มารับราชการ จึงมอบให้พระอนุยุตยันตรกรรมซึ่งย้ายจากกรมแผนที่มายังโรงเรียนข้าราชการพลเรือนมาดูแลแทน
เมื่อ พ.ศ. 2455 ทหารบก ทหารเรือ กรมรถไฟ กรมชลประทาน ฯลฯ เป็นต้น ต่างก็ต้องการนักเรียนที่สำเร็จวิชานี้มาก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้มาเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน จึงได้ให้จัดการตั้งโรงเรียนช่างกลขึ้น วางหลักสูตรหาอาจารย์มาเพิ่มเติมให้ได้มากที่สุด และได้นักเรียนช่างกลชุดแรกจากโรงเรียนเกษตรวิศวกรรมการคลองที่เลิกไปมาประมาณ 30-40 คน โดยสถานที่ของโรงเรียนเกษตรนั้นได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนช่างกลขึ้นและได้เปิดสอน รับสมัครนักเรียนภายนอกเรียกว่า "โรงเรียนยันตรศึกษาแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่านี่คือจุดกำเนิดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พอได้รับโอนโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ของกระทรวงธรรมการ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จ มาเป็นแผนกคุรุศึกษาของโรงเรียนราชการพลเรือนแล้ว (โรงเรียนรัฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช โรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา) จึงได้ย้ายโรงเรียนต่าง ๆ มารวมกันกับโรงเรียนยันตรศึกษาที่วังใหม่ ตำบลสระปทุม และได้วางระเบียบเครื่องแต่งกายและสีแถบคอเสื้อของแต่ละแผนก แผนกยันตรศึกษาได้รับสีเลือดหมู คุรุศาสตร์ได้รับสีเหลือง แพทยศาสตร์ได้รับสีเขียว และรัฐประศาสนศาสตร์ได้รับสีดำ และมอบให้พระยาวิทยาปรีชามาตย์ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคุรุศึกษามาทำหน้าที่ผู้อำนวยโรงเรียนยันตรศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2458
โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าจำนวนเก้าแสนกว่าบาทให้ใช้เพื่อสร้างอาคารเรียนและเป็นตึกบัญชาการบนที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน 1,309 ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน และเงินที่เหลือจากการสร้างก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เพื่อกิจการของโรงเรียนต่อไป ทั้งนี้ได้พระราชพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนิน และทรงวางศิลาฤกษ์ในการสร้างอาคารดังกล่าวเมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2458
ในสมัยนั้นโรงเรียนยันตรศึกษาได้รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ของกระทรวงธรรมการ การเรียนในขั้นแรกนี้กำหนดหลักสูตรให้เรียนในโรงเรียนเพียง 3 ปีสำเร็จแล้ว ต้องออกฝึกหัดการงานในสถานที่ ซึ่งโรงเรียนเห็นชอบด้วยอีก 3 ปี และเมื่อโรงเรียนได้รับรายงานเป็นที่พอใจแล้ว จึงจะยอมรับว่าการเรียนนั้นจบบริบูรณ์ตามหลักสูตร และยอมออกประกาศนียบัตรให้ได้
ตึก 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูง ให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงได้ทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 โรงเรียนยันตรศึกษาก็ได้เปลี่ยนเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ และได้รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ของกระทรวงธรรมการ และขยายเวลาเรียนไปเป็น 4 ปี และย้ายสถานที่เรียนจากหอวัง ไปเรียนที่ตึกใหญ่ริมสนามม้าซึ่งเริ่มสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2461 เป็นตึกใหญ่มีบันไดเป็นตัวนาคมีหัวแผ่ 7 หัว แต่หลังคามุงไว้ด้วยใบจากเป็นการชั่วคราว เพราะกระเบื้องเคลือบยังทำไม่เสร็จ แผนกรัฐประศาสนศึกษาก็เปลี่ยนชื่อเป็นคณะรัฐประศาสนศาสตร์ แล้วก็ย้ายมาอยู่ตึกใหม่นี้ด้วยกัน แต่ห้องเรียนของคณะรัฐประศาสนศาสตร์นั้นอยู่ชั้นบน คณะวิศวกรรมศาสตร์อยู่ชั้นล่าง (ตึกใหม่นี้เองกลายเป็นตึกเรียนของคณะอักษรศาสตร์ต่อมา ส่วนคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นย้ายไปเรียนที่ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ 1 ในอีกเกือบ 20 ปีถัดมาในปีพ.ศ. 2478) ส่วนโรงเรียนข้าราชการพลเรือนก็เปลี่ยนสภาพเป็น "คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์" ไป และตัววังใหม่เองก็กลายเป็น "โรงเรียนมัธยมหอวัง" ใช้เป็นที่ฝึกสอนของนิสิตในแผนกคุรุศึกษาไปด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงแรกจึงมีการจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2476 ทางราชการเห็นสมควรให้มีการจัดการเรียนการสอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ถึงขั้นปริญญา จนในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตครั้งแรกที่ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 1 ห้อง 1112 (แต่ขณะนั้นตัวตึกทั้งสองนี้เป็นตึก 2 ชั้นเท่านั้น มาต่อเสริมเพิ่มเป็น 3 ชั้นเมื่อ พ.ศ. 2495) ในปีเดียวกันนั้นเองได้มีการเปิดแผนกวิศวกรรมช่างอากาศขึ้น ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือจากกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหมจัดส่งนายทหารฝ่ายเทคนิคช่างอากาศมาช่วยสอนและใช้โรงงานทหารอากาศ ณ บางซื่อ และดอนเมือง เป็นที่ฝึกงาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นแยกออกได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคต้น มีอายุ 5 ปี ตอนเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ยุคกลาง มีอายุ 17 ปี ตอนเริ่มเป็นมหาวิทยาลัย และยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา ในยุคแรกและยุคกลางคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ทำการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษเอง แต่พอ "คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์" ได้ย้ายมาอยู่ที่ตึกอักษรศาสตร์ปัจจุบัน นักเรียนวิศวกรรมศาสตร์จึงได้ไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษรวมกับนิสิตวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพราะอาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์มีเพียง 5-6 คน ไม่พอที่จะทำการสอนได้หมดทุกวิชาที่มีอยู่ในหลักสูตร อีกทั้งเครื่องมือเครื่องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ก็มีพร้อมมูลกว่า จึงเป็นโอกาสดีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์จะได้ขยับขยายผ่อนให้นิสิตของตนได้ไปรับการฝึกสอนจากคณะอื่นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ในปี พ.ศ. 2481 คณะวิศวกรรมศาสตร์รับสมัครแต่ผู้ที่สำเร็จชั้นประโยคมัธยมบริบูรณ์ของกระทรวงธรรมการหรือเทียบเท่า โดยผู้ที่จะเข้าเรียนจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยเสียก่อน และมีใช้เวลาในการเรียนเป็นเวลา 4 ปี ในปีเดียวกันนั้นเอง ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนนี้มีนักเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์เป็นรุ่นแรกอยู่ด้วย มีจำนวน 99 คน ต่อไปผู้ที่จะเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อสำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 ของกระทรวงธรรมการแล้ว จะต้องเข้าเรียนวิชาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์เสียก่อนสองปี เมื่อสอบได้แล้วจึงจะผ่านโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มาเป็นนิสิตในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้
จนในปี พ.ศ. 2489 กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดให้จัดการศึกษาชั้นเตรียมอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นตามโรงเรียนของกระทรวงอีกหลายแห่ง ทั้งยังอนุญาตให้โรงเรียนราษฎร์ที่ได้รับการเทียบเท่าวิทยฐานะเท่าโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว เปิดการสอนถึงขั้นเตรียมอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นจากมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถึง 2 ปีด้วย ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 เป็นต้นไป คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงรับสมัครผู้ที่สำเร็จจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่าทุกแห่งโดยผู้ที่จะเข้าเรียน แต่จะต้องผ่านการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยเสียก่อน

วิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือ วิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering) หรือ วิศวกรรมการแพทย์ (Medical Engineering) เป็นสาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน และต้องการขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพสูง เช่น เทคโนโลยีในเครื่องมือผ่าตัด เครื่องส่องดูอวัยวะในร่างกาย อุปกรณ์จ่ายยาอัตโนมัติ ข้อต่อหรืออวัยวะเทียม เครื่องวิเคราะห์สัญญาณหัวใจหรือสมอง อุปกรณ์ตรวจสอบระบบน้ำตาลในเลือด และระบบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เป็นต้น
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ต่อไปนี้ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นาโนเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ แพทยศาสตร์ ชีววิทยา เคมี และ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการนำความรู้เฉพาะทางมาใช้พัฒนาหรือสร้างเครื่องมือ ซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์
ประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทย สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ริเริ่มจัดให้มีการประชุมประจำปีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งชาติ (National Meeting on Biomedical Engineering) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แบบบูรณาการ โดยการสนับสนุนของ NECTEC ต่อมาได้มีการเพิ่มการประชุมนานาชาติ International Symposium in Biomedical Engineering (ISBME) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2544 การประชุมประจำปีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Meeting on Biomedical Engineering) ที่โรงแรมเซ็นทรัล โซฟิเทล สนับสนุนโดย NECTEC จัดโดย สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2545 การประชุมประจำปีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งชาติ ครั้งที่ 2 (2nd National Meeting on Biomedical Engineering) ที่โรงแรมอมารี ประตูน้ำ สนับสนุนโดย NECTEC จัดโดย สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2546 การประชุมประจำปีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งชาติ ครั้งที่ 3 (3rd National Meeting on Biomedical Engineering) ที่โรงแรมรามากาเด็น สนับสนุนโดย NECTEC จัดโดย สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2547 International Symposium in Biomedical Engineering 2004 ที่โรงแรมรามากาเด็น สนับ สนุนโดย NECTEC จัดโดย สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2548 การประชุมประจำปีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งชาติ ครั้งที่ 4 (4nd National Meeting on Biomedical Engineering) ที่โรงแรมรามากาเด็น สนับสนุนโดย NECTEC จัดโดย สถาบันวิศวกรรมชีวการ แพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2549 International Symposium in Biomedical Engineering 2006 ที่โรงแรมเซ็นทรัลโซฟิเทล สนับสนุนโดย MTEC จัดโดย สมาคมวิศวกรรมการแพทย์และชีววิทยาไทย (ThaiEMBS)ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2550 การประชุมประจำปีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งชาติ ครั้งที่ 5 (5nd National Conference on Biomedical Engineering) ณ โรงแรมทวินทาวเวอร์ กรุงเทพฯ สนับสนุนโดย NECTEC จัดโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2550 การประชุมวิชาการวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ครั้งที่ 1 (The 1st Symposium on Thai Biomedical Engineering : ThaiBME2007) ณ อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยรังสิต ภายใต้ความร่วมมือของ สภาวิชาการ สมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (ThaiBME Council) สนับสนุนโดย NECTEC
พ.ศ. 2551 การประชุมวิชาการวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ครั้งที่ 2 (The 2nd Symposium on Thai Biomedical Engineering : ThaiBME2008)และ ISBME2008 จัดโดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ภายใต้การสนับสนุนของ สมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (ThaiBME)
พ.ศ. 2551 วารสารวิชาการนานาชาติด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ประยุกต์ International Journal on Applied Biomedical Engineering (IJABME) โดย สมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (ThaiBME)
พ.ศ. 2552 The 4th IEEE International Symposium in Biomedical Engineering 2009 (IEEE ISBME2009) จัดโดย สมาคมวิศวกรรมการแพทย์และชีววิทยาไทย (ThaiEMBS)
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิศวกรรมชีวเวชหรือวิศวกรรมชีวการแพทย์ในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยที่สามารถเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์อยู่ทั้งสิ้น 5 สถาบันดังตารางข้างล่าง ทั้งนี้ มี 3 สถาบันที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต) โดยเน้นการพัฒนากำลังคนเข้าสู่วงการอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี เมื่อ พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ มี 3 สถาบันที่เน้นการพัฒนากำลังคนเพื่อการพัฒนางานวิจัยโดยการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและปริญญาเอก) ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดลเพียงมหาวิทยาลัยเดียวที่มีศักยภาพเพียงพอจะเปิดหลักสูตรการสอนในทุกระดับ และแนวโน้มสำหรับหลักสูตรนี้ในประเทศไทยคือการเปิดทำการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น เปิดทำการสอนทั้งภาษาไทยและนานาชาติ โดยมีมหาวิทยาลัยเหล่านี้เป็นต้นแบบและกำลังหลักต่อไป
มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต โดยความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (นานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (นานาชาติ)
มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในการสอนหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา
จัดอันดับโดยยูเอสนิวส์แอนเวิร์ลรีพอด ปี 2009 (US News and World Report) ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในสหรัฐอเมริกา
1. มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์
2. สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย
3. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตซานดิเอโก
4. มหาวิทยาลัยดุ๊ก
5. มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
6. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
7. มหาวิทยาลัยบอสตัน
7. มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
9. มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ
9. มหาวิทยาลัยไรซ์

วิศวกรเหมืองแร่ เป็นอาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เก่าแก่ ในประเทศที่พัฒนาด้านอุตสาหกรรมหนักอย่างรวดเร็ว จะให้ความสำคัญแก่สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่มาก เพราะเป็นสาขาที่เกี่ยวกับการนำสินแร่และโลหะ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมพื้นฐานที่จำเป็นมาใช้งาน
งานหนักของวิศวกรเหมืองแร่ คือ การวางแผนออกแบบ และควบคุมการทำเหมืองแร่ กระบวนการผลิตสินแร่ และกระบวนการแยกแร่ รวมไปถึงงานโลหกรรม และวัสดุศาสตร์ นอกจากนี้วิศวกรเหมืองแร่ต้องมีความรู้ทางด้านธรณีวิทยา โลหะวิทยา เทคโนโลยีปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ
ในบางครั้งวิศวกรเหมืองแร่ต้องไปทงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมแร่ทั้งในด้านการจัดการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มนุษย์ให้ความสนใจกันสูงมากนัก ความต้องการผู้มีความรู้ในด้านนี้จึงมีสูง ซึ่งผู้ที่เหมาะสมที่สุดจะช่วยแก้ปัญหา คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแร่โดยตรงนั่นคือ วิศวกรเหมืองแร่นั่นเอง
ดังนั้นผู้ที่จบหลักสูตรวิศวกรรมเหมืองแร่ นอกจากจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิชาชีพเป็นอย่างดีแลัว ยังสามารถทำรายงานสิ่งแวดล้อมได้มีจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม สามารถประยุกต์ความรู้ และคอมพิวเตอร์กับงานในอาชีพได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นผู้ที่มีการสื่อสารดี ใฝ่รู้ มีจริยธรรม และสามารถพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนาประเทศได้
ตลาดงานของวิศวกรรมเหมืองแร่
หน่วยรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรม ( กรมทรัพยากรธรณี ) กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานเอกชน บริษัทเหมืองแร่และโรงแต่งแร่ต่างๆ ทั่วประเทศและในอินโดจีน ( ลาว พม่า เวียดนาม ) เช่น เหมืองทองคำ ตะกั่ว สังกะสี ถ่านหิน ยิบซั่ม เฟลด์สปาร์ โดไมท์ แบไรท์ ดินดำ บอลเคลย์ ดินขาว และโรงงานผลิตผงคาร์บอเนต และปูนขาว ปูนไฮเดรต และ Precipitated limestone เป็นต้น โรงปูนซิเมนต์ต่างๆ ( บริษัท ปูนทีพีไอ ปูนเอเซีย ปูนซิเมนต์ไทย ปูนซิเมนต์นครหลวง ชลประทานซีเมนต์ และบริษัท ปูนซิเมนต์ขนาดเล็ก เช่น สระบุรีซิเมนต์ เป็นต้น ) โรงถลุงและการแปรรูปโลหะ บริษัทที่ขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ บริษัทก่อสร้างที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้วัตถุระเบิดสำหรับการทำถนนผ่านภูเขาและการเจาะอุโมงค์ การสร้างเขื่อน เหมืองหิน ( ปัจจุบันเหมืองหินจำเป็นต้องใช้วิชาการมากขึ้น เพื่อดูแลการระเบิดหิน การย่อยและคัดขนาดโดยไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนรอบข้าง ) งานขายเครื่องจักรกลหนัก ขายวัตถุระเบิด และงานการตลาดแร่และวัสดุระหว่างประเทศ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัทสำรวจปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

วิศวกรรมสำรวจ เป็นศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ บันทึก ประมวลผล วิเคราะห์ เผยแพร่ และ การใช้งานสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเชิงภูมิศาสตร์ (ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนผิวโลก) อวกาศ และใต้ดิน วิศวกรรมสำรวจประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันเพื่อให้เข้าใจลักษณะแบบจำลองของปรากฏการณ์ทางกายภาพต่างๆ และสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นลงมาเป็นข้อมูลรูปแผนที่ที่มีความถูกต้องและ น่าเชื่อถือทางตำแหน่งและข้อมูลอธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจประกอบด้วย
-ระบบภูมิสารสนเทศ (Geo-Information System, GIS)
-การรังวัดด้วยสัญญาณระบบดาวเทียมนำหน (Global Navigation Satellite System, GNSS) -การรังวัดและทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ (Digital Photogrammetry)
-การรังวัดและทำแผนที่จากภาพดาวเทียมรายละเอียดสูง (High Resolution Satellite Imagery)
-การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing)
-การทำแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-assisted Mapping)
-งานรังวัดขั้นสูง (Geodetic Surveying) และงานรังวัดความละเอียดสูง (High Precision Measurement)

18 มิถุนายน 2553

วิศวกรรมเครื่องกล (อังกฤษ: Mechanical engineering) เป็นวิชาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และกฎทางฟิสิกส์เพื่อการประดิษฐ์ การผลิต และการดูแลรักษาระบบเชิงกล วิศวกรรมเครื่องกลเป็นหนึ่งในสาขาทางวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดและมีขอบข่ายกว้างขวางที่สุด
การศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลนั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงานเป็นอย่างดี วิศวกรเครื่องกลนั้นสามารถใช้หลักการณ์พื้นฐานได้ดีพอกับความรู้อื่นๆในงานภาคสนามเพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
วิวัฒนาการ
การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางวิศวกรรมเครื่องกลนั้นถูกบันทึกเอาไว้ในหลายสังคมยุคโบราณและยุคกลางทั่วโลก ในกรีกยุคโบราณงานของอาร์คิมิดีส (287 –212 ก่อนคริสตกาล) และงานของเฮรอนแห่งอเล็กซานเดีย (ค.ศ. 10–70) นับได้ว่ามีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อประยุกตวิทยายุโรปมากเลยทีเดียว ในจีน จาง เหิง (張衡) (ค.ศ. 78–139) พัฒนานาฬิกาน้ำและเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหว หม่า จวิน (馬鈞) (ค.ศ. 200–265) ประดิษฐ์ติดตั้งเฟืองทดบนรถม้า ซู ซ่ง (蘇頌) (ค.ศ. 1020–1101) ช่างนาฬิกาและวิศวกรได้ประยุกต์กลไกเอสเคปเมนต์ (Escapement Mechanism) เพื่อการประดิษฐ์หอนาฬิกาเชิงดาราศาสตร์ได้สองร้อยปีก่อนที่กลไกนี้จะถูกค้นพบในยุโรปและยังเป็นกลไกที่ใช้โซ่ส่งกำลัง (Chain Drive) กลไกแรกในโลก
ในช่วงยุคทองของอิสลาม ระหว่างคริสตศัตวรรษที่ 7 ถึง 15 มีการพัฒนาศาสตร์ด้านกลไกอย่างเด่นได้ชัด อัล จาชิริ ผู้แต่งตำรา "ตำราแห่งความรู้เกี่ยวกับกลไกอันชาญฉลาด (Book of Knowledge of Ingenious Mechanical Devices)" ใน ค.ศ. 1206 ซึ่งนำเสนอรูปแบบกลไกมากมาย เขาถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์เชิงกลหลายอย่างซึ่งปัจจุบันถือเป็นกลไกพื้นฐานดั่งเช่นเพลาแคมและแคร๊ง
ในช่วงต้นคริสตศัตวรรษที่ 19 พัฒนาการด้านเครื่องมือกลในอังกฤษและสกอตแลนด์ทำให้วิศวกรรมเครื่องกลแยกตัวออกมาจากวิศวกรรมสาขาอื่นๆ โดยเน้นไปที่งานเครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ต้นกำลัง ใน ค.ศ. 1847 สมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งแรกได้ถูกก่อตั้งขึ้นในสหราชอาณาจักรหรือสามสิบปีหลังการก่อตั้งสมาคมวิศวกรโยธา ในสหรัฐอเมริกา สามคมวิศวกรเครื่องกลแห่งอเมริกา (American Society of Mechanical Engineers, ASME) ถูกก่อตั้งใน ค.ศ. 1880 กลายเป็นสมาคมทางวิศวกรรมลำดับที่สาม ตามหลังสมาคมวิศวกรโยธาแห่งอเมริกา
และสถาบันวิศวกรเหมืองแร่แห่งอเมริกา (1871) สำหรับสถาบันการศึกษาแรกที่เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ในอเมริกาคือ วิทยาลัยการทหารแห่งสหรัฐอเมริกา (โรงเรียนนายร้อยทหารบกเวสต์พอย์ต) ในค.ศ. 1817 ซึ่งต่อมากลายเป็น มหาวิทยาลัยนอร์วิช ในค.ศ. 1819 และสถาบันโพลิเทคนิคเรนส์ซเลียร์ ในค.ศ. 1825 โดยประวัติศาสตร์การศึกษาด้านวิศวกรรมเครืองกลนั้น มีพื้นฐานการศึกษาที่เน้นหนักไปทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลนั้น ได้รับการพิจารณาว่าเป็นศาสตร์ทางวิศวกรรมที่กว้างที่สุด งานของวิศวกรเครื่องกลนั้นมีขอบข่ายตั้งแต่ก้นมหาสมุทรไปจนถึงอวกาศอันได

การศึกษา
หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลมีเปิดสอนในสถาบันการศึกษาทั่วโลก ในจีน, เนปาล และอเมริกาเหนือ หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลจะเป้นหลักสูตรสี่ถึงห้าปี และผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) หรือ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ซึ่งจะมีการระบุถึงสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ในสเปน โปรตุเกส และอเมริกาใต้ หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลจะเป็นหลักสูตร 5 ปีสำหรับการเรียนในห้อง หรือ 6 ปีรวมการฝึกภาคปฏิบัติ ในประเทศไทย หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลเป็นหลักสูตร 4 ปี
ในอเมริกา หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลระดับปริญญาตรีโดยส่วนมากจะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการรับรองหลักสูตรสำหรับวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET)) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรการเรียนการสอนอยู่ในมาตราฐานที่คล้ายคลึงกัน สำหรับในประเทศไทยนั้น หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลจะได้รับการดูแลโดยสภาวิศวกร
วิศวกรเครื่องกลอาจจะเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมในระดับปริญญาโทและเอกในสาขา วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) หรือ ปริญญาเอกในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ หรือปริญญาทางวิศวกรรมอื่นๆ สำหรับกรศึกษาในระดับมหาบัณฑิตหรือปริญญาอื่นๆ อาจจะทำหรือไม่ทำวิทยานิพนธ์ก็ได้
หลักสูตร
มาตราฐานของหลักสูตรที่ถูกกำหนดในแต่ละประเทศนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันด้านการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐานทางด้านวัสดุศาสตร์ สร้างความสามารถในตัวบัณฑิตวิศวกรรมทุกคนให้มีความสามารถในการทำงานในฐานะผู้เชี้ยวชาญด้านวิศวกรรมได้เหมือนกัน สำหรับในประเทศไทย สภาวิศวกรได้กำหนดว่าหลักสูตรทางวิศวกรรมศาสตร์จะที่ได้รับการรับรองนั้นจำต้องมีการสอนความรู้วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์, ความรู้วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม และความรู้วิชาเฉพาะทางวิศวกรรม อีกทั้งยังจะต้องมีคณาจารย์ และสถานที่ ห้องสมุด และห้องปฏิบัติการ เป็นไปตามเกณฑ์ และมีการจัดทำระบบประกันคุณภาพและผ่านการรับรองจากกระทรวงที่รับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม วิชาเฉพาะในหลักสูตรนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปโดยบางมหาวิทยาลัยอาจจะบรรจุหลายสายวิชาลงในรายวิชาเดียว หรืออาจจะแยกสายวิชาออกมาเป็นหลายรายวิชา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งอำนวยการสอน และสาขาการวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปวิชาพื้นฐานของวิศวกรรมเครื่องกลประกอบด้วย
สถิตยศาสตร์ และ พลศาสตร์
ความแข็งแรงของวัสดุ และ กลศาสตร์ของแข็ง
เครื่องมือวัดและควบคุม
อุณหพลศาสตร์, การถ่ายเทความร้อน, ระบทำความร้อนและความเย็น
กลศาสตร์ของไหล
การออกแบบเครื่องกล (ทั้งในเชิงสถิตยศาสตร์ และ พลศาสตร์)
การผลิต
การเขียนแบบเชิงวิศวกรรม
วิศวกรเครื่องกลจำต้องมีความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางเคมี, ฟิสิกส์, วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, วิศวกรรมโยธา อีกทั้ง หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลมีการสอนวิชาแคลคูลัสหลายรายวิชา อีกทั้งจะต้องมีการสอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูงเช่น สมการเชิงอนุพันธ์ (รวมถึงสมการเชิงอนุพันธ์เชิงย่อย) และ พีชคณิต อีกด้วย
นอกจากนี้ บางหลักสูตรทางวิศวกรรมเครื่องกล อาจจะเน้นเฉพาะทางลงไปเช่น วิศวกรรมยานยนต์, วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน, วิศวกรรมต่อเรือ, วิศวกรรมจักรกลเกษตร หรือวิศวกรรมหุ่นยนต์หรือสาขาอื่นๆ
โดยส่วนมาก หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลจะบังคับให้นักศึกษาได้รับการฝึกงานในสถานประกอบการทางวิศวกรรมจริงอย่างน้อยหนึ่งรายวิชา แต่สำหรับประเทศไทยนั้น นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลทุกคนจะต้องผ่านการฝึกงานจริงหนึ่งรายวิชา ส่วนมากการฝึกงานของนักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลในประเทศไทยจะถูกจัดอยู่ในภาคการศึกษาภาคฤดูร้อนของปีการศึกษาที่สาม
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางวิศวกรรม (ก.ว.)
ไม่จำเป็นว่าวิศวกรเครื่องกลทุกคนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพถึงจะทำงานได้ วิศวกรบางคนอาจจะขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมจากหน่วงงานภาครัฐระดับชาติ, รัฐ หรือมณฑล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายที่บังคับใช้ในแต่ละรัฐ แต่สำหรับประเทศไทย สภาวิศวกรคือหน่วยงานเดียวที่สามารถออกใบรับรองให้วิศวกรทั่วประเทศ วิศวกรที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพนั้นคือวิศวกรที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่ามีความรู้เฉพาะทางที่จำเป็น, มีประสบการณ์งานจริง และมีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิศวกรรมในระดับผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรม ในประเทศไทยนั้น วิศวกรที่จะได้รับการรับรองนั้นจะต้องสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลที่สภาวิศวกรรับรอง
สมาคมวิชาชีพ
ในหลายๆ ประเทศ มีองค์กรทางวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกลที่มีชื่อเสียง และทำคุณประโยชน์ในการพัฒนาวิชาชีพและนำวิชาการทางวิศวกรรมเครื่องกลสร้างประโยชน์สังคม หลาย ๆ องค์กร ได้แก่ ASME (American Society of Mechanical Engineers) หรือ JSME (Japanese Society of Engineers) ในประเทศไทยก็มีสมาคมวิศวกรเครื่องกลไทย (Thai Society of Mechanical Engineers)
เครื่องมือทางวิศวกรรมเครื่องกลยุคใหม่
ในหลายๆบรรษัททางวิศวกรรม โดยเฉพาะบรรษัทจากประเทศอุตสาหกรรมเริ่มมีการใช้โปรแกรมช่วยทางวิศวกรรม (CAE) ในการออกแบบและวิเคราะห์ระบบการผลิต รวมไปถึงการใช้โปรแกรมเขียนแบบทางวิศวกรรม (CAD) โปรแกรมเหล่านี้มีประโยชน์มากมายนัก ไม่ว่าจะทำให้การออกแบบง่ายขึ้นและแบบมีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น, สามารถสร้างแบบเสมือนการประกอบกันของชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ และง่ายต่อการออกแบบส่วนเชื่อมต่อและการคำนวณความคลาดเคลื่อน
โปรแกรมช่วยทางวิศวกรรมที่มักจะถูกใช้โดยวิศวกรรมเครื่องกลนั้นรวมไปถึง Product lifecycle management (PLM) และโปรแกรมในการจำลองสถานการณ์ที่ซับซ้อน โปรแกรมช่วยทางวิศวกรรมนี้อาจจะถูกใช้ในการคำนวณภาระที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งการคำนวณหาขีดจำกัดการล้า และความสามารถในการผลิต โปรแกรมเหล่านี้นั้นรวมไปถึง finite element analysis (FEA), computational fluid dynamics (CFD), และ computer-aided manufacturing (CAM).
สาขาย่อยของวิศวกรรมเครื่องกล
งานภาคสนามของวิศวกรเครื่องกลเกิดจากการประยุกต์ใช้ความรู้ในหลายๆแขนงของวิศวกรรมเครื่องกล สาขาย่อยของวิศวกรรมเครื่องกลที่ถูกเขียนถึงต่อไปนี้มักจะจะถูกสอนในระดับตั้งแต่ปริญญาตรีลงมา นอกจากนี้บทความส่วนนี้จะอธิบายถึงรายละเอียดโดยย่อพร้อมทั้งตัวอย่างการประยุกต์ใช้ที่มักจะถูกใช้ สาขาย่องบางสาขาเป็นสาขาเฉพาะสำหรับวิศวกรเครื่องกล แต่ในบางสาขาเกิดจากสนธิความรู้จากสาขาอื่น งานของวิศวกรเครื่องกลส่วนมากใช้ความรู้และทักษะจากสาขาต่างๆเหล่านี้เข้าด้วยกันพอพอกับการใช้ความรู้จากสาขาที่เป็นความเชี้ยวชาญเฉพาะทาง สาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในบทความส่วนนี้มักจะสอนในระดับสูงกว่าปริญญาตรี หรือการฝึกสอนในภาคปฏิบัติมากกว่าการวิจัยในระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่า สาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจะถูกกล่าวถึงในส่วนท้ายๆของเนื้อหาส่วนนี้
กลศาสตร์
กลศาสตร์ คือการศึกษาแรงและผลกระทบของมันบนวัตถุ สำหรับกลศาสตร์วิศวกรรมแล้ว กลศาสตร์ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์และคำนวณความเร่งและการเปลี่ยนรูป (ทั้งบนวัสดุอีลาสติก และพลาสติก) บนวัสดุที่ทราบแรงที่เข้ากระทำ (หรือที่เรียกว่าภาระ) หรือทราบความเค้น สาขาย่อยของกลศาสตร์มีดังนี้
สถิตยศาสตร์ (Statics) ศึกษาวัตถุที่อยู่นิ่งและทราบภาระ
พลศาสตร์ (Dynamics) ศึกษาผลกระทบของแรงที่เข้ากระทำต่อวัตถุ
ความแข็งแรงของวัสดุ ศึกษาการเปลี่ยนรูปของวัตสดุ ภายใต้ความเค้นแบบต่างๆ
กลศาสตร์ของไหล ศึกษาปฏิกิริยาของของไหลอันเนื่องมาจากแรง
กลศาสตร์ของไหลนี้อาจจะแบ่งได้เป็นของไหลสถิตย์และของไหลจลน์ และกลสาสตร์ของไหลก็เป็นสาขาหนึ่งของ continuum mechanicsสำหรับการประยุกต์ใช้ความรู้ในสาขานี้มี ไฮดรอลิกส์ และ นิวแมติกส์
Continuum mechanics คือวิธีการประยุกต์ใช้กลศาสตร์โดยสมมติว่าวัสดุนั้นมีความต่อเนื่องไม่ขาดช่วง
วิศวกรเครื่องกลมักจะใช้กลศาสตร์ในขั้นตอนการออบแบบและวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่นในการออกแบบรถยนต์ สถิตยศาสตร์อาจจะถูกใช้ในการออกแบบโครงรถเพื่อหาว่าบริเวณใดท่ได้รับความเครียดสูงที่สุด พลศาสตร์อาจจะถูกใช้ในการออกแบบเครื่องยนต์เช่นคำนวณแรงในลูกสูบ ความแข็งแรงของวัสดุจะถูกใช้เพื่อการเลือกวัสดุที่มีความเหมาะสม ส่วนกลศาสตร์ของไหลอาจจะถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ระบบระบาบอากาศ หรือระบบดูดอากาศเข้าเครื่องยนต์
จลนศาสตร์
จลนศาสตร์ (kinematics) เป็นการศึกษาการเคลื่อนไหวของวัตถุและระบบโดยไม่สนใจแรงที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของเครนหรือการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาของลูกสูบเป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบทางจลนศาสตร์อย่างง่าย เครนเป็นตัวอย่างของระบบเปิดทางจลนศาสตร์ ส่วนลูกสูบเป็นระบบปิดแบบโฟร์บาร์ลิงเกจ
วิศวกรจะใช้จลนศาสตร์ในการออกแบบและวิเคราะห์กลไก ซึ่งจลนศาสตร์นี้สามารถใช้คำนวณหาขอบเขตการเคลื่อนที่ของกลไก หรือออกแบบกลไกที่มีเพื่อตอบสนองการเคลื่อนที่ของกลไก
หุ่นยนต์และเครื่องกลไฟฟ้า
เครื่องกลไฟฟ้าเป็นศาสตร์ผสมระหว่างวิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งพิจารณาได้ว่าการผสมผสานความรู้ทางไฟฟ้าและเครื่องกลนั้นเป็นระบบผสม (Hybrid system) ดังนั้นเครื่องยนต์จะสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเองจากการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า, กลไกเซอร์โว หรืออุปกรณ์ทางไฟฟ้าอื่นๆภายใต้การควบคุมของโปรแกรมพิเศษ ตัวอย่างง่ายๆของเครื่องกลไฟฟ้าคือเครื่องอ่านซีดีรอม โดยระบบเชิงกลนั้นคือระบบชักถาดซีดีเข้า/ออก, การหมุนแผ่นซีดี และกลไกขยับหัวอ่านเลเซอร์ โดยที่ระบบทางไฟฟ้าจะทำหารอ่านข้อมูลและแปลงสัญญาณ ส่วนซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการและสื่อสารระหว่างซีดีกับคอมพิวเตอร์
สำหรับวิศวกรรมหุ่นยนต์นั้นเป็นการประยุกต์ใช้เครื่องกลไฟฟ้าเพื่อการสร้างหุ่นยนต์ ซึ่งส่วนมากจะใช้ปฏิบัติงานที่อันตราย, ไม่พึงประสงค์ หรืองานซ้ำซากสำหรับมนุษย์ หุ่นยนต์เหล่านี้จะมีรูปร่างหรือขนาดอย่างไรก็ได้ แต่พวกมันล้วนถูกโปรแกรมและสามารถตอบสนองทางกายภาพต่อสิ่งเร้าได้ เพื่อการสร้างหุ่นยนต์ วิศวกรจะใช้คิเนมาติกส์เพื่อออกแบบขอบเขตการเคลื่อนไหว และกลศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ความเค้นในหุ่นยนต์
หุ่นยนต์ถูกใช้มากในอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ต้นทุนแรงงานต่ำลง สามารถทำให้ผู้ประกอบการทำงานที่อันตรายเกินไป หรือซ้ำซากเกินไปสำหรับมนุษย์ได้อย่างคุ้มค่าและสามารถรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ หลายๆบรรษัทอาจจะใช้หุ่นยนต์ในขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วน และบางโรงงานใช้หุ่นยนต์ในการทำงานทั้งหมดจนไม่ต้องใช้มนุษย์ในการทำงาน และนอกจากในโรงงานแล้ว หุ่นยนต์อาจจะถูกใช้ในการกู้ระเบิด, การสำรวจอวกาศ หรืองานอื่นๆ นอกจากนี้หุ่นยนต์ก็สามารถทำงานบ้านได้
การวิเคราะห์โครงสร้าง
การวิเคราะห์เชิงโครงสร้างเป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมเครื่องกล (และวิศวกรรมโยธา) เพื่อตรวจสอบว่าเป้าหมายนั้นพังเพราะเหตุใดและทำไม ความเสียหายเชิงโครงสร้างโดยทั่วไปแล้วจะเกิดขึ้นได้สองลักษณะใหญ่คือความเสียหายสถิตย์ (Static Failure) และความเสียหายล้า (Fatigue Failure) ความเสียหายเชิงโครงสร้างสถิตย์เกิดขึ้นเมื่อเป้าหมายที่ถูกพิจารณานั้นแตกหักหรือเปลี่ยนรูปแบบพลาสติก (Plastic Deforming) ขึ้นอยู่กับเกณฑ์พิจารณา (ในบางกรณี การเปลี่ยนรูปนั้นสามารถยอมรับได้ จึงไม่ถือว่าเกิดความเสียหาย) สำหรับความเสียหายล้าคือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับภาระที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดอยู่ตลอดเวลาซ้ำไปซ้ำมาเป็นวงรอบหลายๆรอบ สาเหตุของความเสียหายล้านี้เกิดความไม่สมบูรณ์แบบของวัสดุ เช่นเกิดการแตกหักในระดับไมโครบนผิวของวัสดุซึ่งจะค่อยๆทวีความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละรอบการทำงานจนกระทั่งรอยแตกหักนั้นกว่างมากพอที่จะถือได้ว่าเสียหายอย่างที่สุด (Ultimate Failure)
แบบmechanical double sealที่เขียนด้วยCAD การเขียนแบบ
ดูบทความหลักที่ การเขียนแบบเชิงเทคนิก และ CNC
การเขียนแบบคือการที่วิศวกรเครื่องกลเขียนแบบเพื่อแนะนำชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ซึ่งให้รายละเอียดมิติที่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ผลิตทราบ ตลอดจนการระบุหมายเหตุ, รายการวัสดุที่ต้องใช้และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ แบบที่เขียนนี้อาจจะเขียนด้วยมือหรือคอมพิวเตอร์ก็ได้ วิศวกรหรือช่างที่มีหน้าที่ในการเขียนแบบนี้จะถูกเรียกว่าช่างเขียนแบบ ในอตีตการเขียนแบบจะเป็นการเขียนภาพสองมิติ แต่โปรแกรมcomputer-aided design (CAD) ทำให้ช่างเขียนแบบสามารถเขียนภาพสามมิติได้
ข้อแนะนำในการผลิตนี้จำต้องป้อนเข้าสู่เครื่องจักรที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการป้อนข้อมูลโดยทั่วไปหรือผ่านการใช้โปรแกรม computer-aided manufacturing (CAM) หรือโปรแกรมผสม CAD/CAM โดยทางเลือกแล้ววิศวกรอาจจะทำการผลิตชิ้นส่วนโดยอาศัยแบบที่ได้รับมา แต่การประยุกต์ใช้เครื่องCNC (computer numerically controlled)นั้นได้รับความนิยมใช้มากขึ้นเช่นกัน ในเบื้องต้นวิศวกรยังผลิตชิ้นส่วนด้วยมนุษย์ในงานหรือกระบวนการที่การใช้เครื่องจักรไม่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์เช่นการพ่นสีเคลือบผิว หรือ การขัดผิว
การเขียนแบบถูกใช้แทบจะทุกสาขาทางวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมสาขาอื่นและสถาปัตยกรรม แบบจำลองสามมิติที่ถูกเขียนด้วย CAD โดยมากอาจจะถูกประยุกต์ใช้ในโปรแกรม finite element analysis (FEA) และ computational fluid dynamics (CFD) อีกด้วย
อุณหพลศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ความร้อน
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
:en:Thermodynamicsอุณหพลศาสตร์คือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ถูกใช้ในวิศวกรรมหลายสาขารวมไปถึงวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมเคมี อธิบายอย่างง่ายที่สุดเกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ก็คือศาตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพลังงานและการเปลี่ยนรูปของพลังงานภายในระบบ สำหรับในทางวิศวกรรมแล้ว จะสนใจการเปลี่ยนรูปของพลังงานขากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งเป็นหลัก ตัวอย่างเช่นเครื่องยนต์รถยนต์ที่เปลี่ยนแปลงพลังงานเคมี (เอนทลาปี) ในน้ำมันไปเป็นความร้อน และพลังงานกลตามลำดับเพื่อการขับเคลื่อนล้อรถ
หลักการทางอุณหพลศาสตร์ถูกใช้มากในทางวิศวกรรมเครื่องกลในด้านการถ่ายเทความร้อน,thermofluids และการอนุรักษ์พลังงาน วิศวกรเครื่องกลใช้ความรู้ทางด้านนี้เพื่อการออกแบบเครื่องยนต์, โรงต้นกำลัง, ระบบความร้อน-ถ่ายเทอากาศ-การปรับอากาศ, อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน, อุปกรณ์ระบายความร้อน, ตู้เย็น, ฉนวนความร้อน ฯลฯ
หัวข้องานวิจัยที่เป้นเรื่องใหม่ในทางวิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรเครื่องกลพยายามขยายขอบเขตความรู้ในสาขาวิชาของตนออกไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยมากขึ้น, ลดต้นทุนการผลิต, และมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยใหม่ๆที่กำลังเป็นที่สนใจมีดังนี้
อ่านเพิ่มเติม การค้นคว้าทางวิศวกรรม
ผ้าถักที่มีการผสมคาร์บอนไฟเบอร์[แก้] วัสดุผสม
ดูบทความหลักที่ วัสดุผสม
วัสดุผสมคือการผสมวัสดุเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดคุณลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างออกไปจากวัสดุเดิมโดดๆ การวิจัยวัสดุผสมในแวดวงวิศวกรรมเครื่องกลเจาะจงไปที่การออกแบบวัสดุที่แข็งแรงกว่า และมีความคงทนถาวรมากกว่า (และด้วยผลที่ตามมาก็คือสภาวะที่เหมาะสมต่อการใช้งาน) โดยพยายามที่จะลดน้ำหนักของวัสดุลง มีความคงทนต่อการสึกกร่อนและปัจจัยไม่ปรารถนามากขึ้น คาร์บอนไฟเบอร์เป็นตัวอย่างหนึ่งของวัสดุที่ถูกใช้ผสมลงในวัสดุซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ในอวกาศยานลงมาจนถึงเบ็ดตกปลา
เครื่องกลไฟฟ้า
เครื่องกลไฟฟ้าคือการผสมผสานความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกล, ไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อการศึกษาระบบอัตโนมัติและถูกใช้งานในการควบคุมระบบผสมชั้นสูง
ตัวอย่างการวิเคราะห์การชนของรถด้วยไฟไนท์อีลาเมนท์[แก้] ไฟไนต์ เอเลเมนต์
ระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ไม่ใช่สาขาใหม่ เนื่องจากแนวคิดพื้นฐานของมันได้ถูกคิดขึ้นมาตั้งแต่พ.ศ. 2484แล้ว แต่พัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้การวิเคราะห์ไฟไนท์อีลาเมนท์เป็นทางเลือกที่จับต้องได้ในปัญหาการวิเคราะห์โครงสร้าง มีโค้ดเชิงพานิชย์มากมายที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมเพื่อการวิจัยและออกแบบชิ้นส่วน เช่น ANSYS, Nastran and ABAQUS
เทคโนโลยีนาโน
ณ ขนาดที่เล็กที่สุด วิศวกรรมเครื่องกลได้ปลายมาเป็นเทคโนโลยีนาโนและวิศวกรรมโมเลกุล โดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างอุปกรณ์ขนาดจิ๋วเพื่อสร้างโมเลกุลหรือวัสดุผ่านแม็คคาโนซินเทสิส





วิศวกรรมอากาศยาน เป็นสาขาที่เกี่ยวกับ อากาศยาน และ ยานอวกาศ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยความรู้ทางด้าน
อากาศพลศาสตร์ – การศึกษาการไหลของของไหล (fluid) รอบ ๆ วัตถุ เช่น ปีก ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาโดย การทดลอง เช่น ผ่านอุโมงค์ลม, ทางทฤษฎี เช่น การคำนวณวิเคราะห์ หรือ การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ (simulation)
การขับเคลื่อน (Propulsion) – พลังงานที่ใช้เคลื่อนยานพาหนะผ่านอากาศ (หรืออวกาศ) ซึ่งอาจจะโดยเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน, เครื่องยนต์เจท, จรวด หรือ การขับเคลื่อนด้วยไอออน
การควบคุม หรือ พลศาสตร์การบิน (Flight Dynamics) – การศึกษาการควบคุมบังคับอากาศยานเพื่อให้อยู่ในความตำแหน่ง, ความสูง, ความเร็ว, และความเร่งที่ต้องการอย่างมีเสถียรภาพ
โครงสร้าง – การออกแบบโครงสร้างทางกายภาพของอากาศยาน เพื่อให้สามารถทนต่อแรงที่กระทำระหว่างการบิน
วัสดุศาสตร์ – การศึกษาเกี่ยวกับวัสดุสำหรับการสร้างอากาศยาน
การยืดหยุ่นทางอากาศ (Aeroelasticity) – ปฏิสัมพันธ์ของแรงทางอากาศพลศาสตร์ กับ ความยืดหยุ่นของโครงสร้างอากาศยาน

;;

By :
Free Blog Templates